วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เชิญชมถ่ายทอดสดพิธีเปิด โครงการ ETV

    ท่านเลขาฯ กศน. นายการุณ  สกุลประดิษฐ์ มีความต้องการให้รายการโทรทัศน์การเรียนการสอนผ่าน ETV มีความสมบูรณ์เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน และคุ้มค่ามากที่สุด   จึงขอให้
                     - แต่ละอำเภอ
                     - กศน.จังหวัด
                     - กลุ่มจังหวัด
ดำเนินการนิเทศ ติดตาม กิจกรรมนี้ เริ่มนิเทศตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย.นี้ โดย อำเภอและจังหวัด ใช้เครื่องมือนิเทศชุดเดียวกันของหน่วยศึกษานิเทศก์ ที่จะนำขึ้นเว็บสำนักงาน กศน.ในวันนี้ ( 6 พ.ย.) แล้วรีบส่งกลับไปที่สำนักงาน กศน.ในสัปดาห์นั้น ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนากระบวนการสอนแบบใช้สื่อ ETV
( หัวหน้าหน่วย ศน. อยากให้ทุกตำบลนิเทศภายในด้วย และนำมารวมสรุปผลนิเทศระดับอำเภอ ส่งจังหวัด )
ที่มา : หัวหน้าหน่วย ศน. นางสาวอังคณา  วสุวรวงศ์
หมายเหตุ : ศน.ได้นำลงในบล็อก " นิเทศ กศน.เชียงราย" แล้วนะคะ ดาวน์โหลดจากลิ้งค์ของสำนักงาน กศน.ได้เลยค่ะ
จาก  ศน.พรมาดา

การจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านรายการโทรทัศน์รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม รายวิชาคณิตศาสตร์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับ ม.ปลาย

คำแนะนำการใช้คู่มือการจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านรายการโทรทัศน์
รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม รายวิชาคณิตศาสตร์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

เอกสารคู่มือการจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านรายการโทรทัศน์รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคมรายวิชาคณิตศาสตร์ และรายวิชาวิทยาศาสตร์ ในเนื้อหาที่ยาก จัดทำขึ้นเพื่อให้ครูศึกษาเรียนรู้ก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีรายการโทรทัศน์เป็นสื่อช่วยสอน ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้
1. ในการจัดทำแผนการเรียนรู้ ครูต้องผนวกการจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านรายการโทรทัศน์ในเนื้อหาที่ยากไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการเรียนรู้ตามปกติของครู มิฉะนั้นจะเกิดการแยกส่วนของรายการโทรทัศน์กับแผนการเรียนรู้ ซึ่งจะทาให้ดูเหมือนครูมีภาระเพิ่มขึ้น
2. แผนการเรียนรู้แต่ละตอนในคู่มือนี้ ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ 1 ชั่วโมง คือ ช่วงก่อนรับชมรายการ  15 นาที ระหว่างรับชมรายการ 30 นาที และหลังรับชมรายการ 15 นาที
3. คู่มือการจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านรายการโทรทัศน์เพื่อเป็นสื่อช่วยสอนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม รายวิชาคณิตศาสตร์ และรายวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นการแนะนำแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู ซึ่งครูควรปฏิบัติตาม เนื่องจากเนื้อหา ที่นามาจัดรายการเป็นเนื้อหาที่ยากและครู กศน.จำนวนมาก ไม่ได้จบการศึกษาในสาขาการสอนภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ แม้ในเนื้อหาที่ไม่ยากก็ยังเป็นการยากที่จะจัดกระบวนการเรียนรู้ ดังนั้นในเนื้อหาที่ยากครูจึงควรใช้แผนการจัดระบวนการเรียนรู้นี้เป็นแนวทาง และหากครู กศน. คนใดที่จบการศึกษาในสาขาการสอนภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือมีประสบการณ์การสอนภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์มาก่อน อาจปรับหรือพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ในช่วงก่อนและหลังรับชมรายการให้น่าสนใจ หรือเอื้อต่อการพัฒนาความสำเร็จของนักศึกษาได้ตามความเหมาะสม
4. คู่มือนี้จัดส่งให้สถานศึกษาพร้อมตารางออกอากาศ ซึ่งจะมีวันและเวลาการออกอากาศ รวมทั้งวันและเวลาการออกอากาศซ้ำ ระบุไว้ในตารางการออกอากาศ ก่อนที่จะมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ ดังนั้นครู กศน.ตำบล ทุกแห่งต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ตามวันและเวลาในตารางออกอากาศ ตลอดจนศึกษาและทำความเข้าใจ เนื้อหาที่ปรากฏในคู่มือก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการก่อนชมรายการโทรทัศน์ เพื่อเตรียมองค์ความรู้ของครูและเตรียมการจัดกระบวนการเรียนรู้ก่อนชมรายการโทรทัศน์
5. ในการศึกษาทำความเข้าใจเนื้อหาในคู่มือ หากมีเนื้อหาส่วนใดที่ครูไม่เข้าใจ นั่นหมายความว่านักศึกษา กศน. ก็จะไม่เข้าใจด้วยเช่นกัน ดังนั้น ครู กศน.ตำบล จึงต้องศึกษาเนื้อหาที่จะสอนผ่านรายการโทรทัศน์ล่วงหน้า ส่วนใดที่ไม่เข้าใจต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อจะเสริมเติมเต็มแก่นักศึกษา หรือเพื่อตอบคำถามของนักศึกษา หลังรับชมรายการโทรทัศน์
6. ก่อนวันรับชมรายการโทรทัศน์ ครูต้องจัดเตรียมแบบสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาระหว่างรับชมรายการ เพื่อดูความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน และควรบูรณาการสังเกตพฤติกรรมตามคุณลักษณะคุณธรรม 11 ประการ และค่านิยม 12 ประการ (ซึ่งดูได้บางข้อ) เข้าไปด้วย เพื่อเป็นหลักฐานรองรับการสุ่มประเมินซ้ำของ สมศ. ในเรื่องการประกันคุณภาพก่อนเริ่มการประกันคุณภาพรอบที่สี่ อีกทั้งยังต้องเตรียมแบบทดสอบอื่น ๆนอกเหนือจากแบบทดสอบหลังเรียนในรายการ (หากมีการจัดกระบวนการเรียนรู้หลังรับชมรายการโทรทัศน์ต่อเนื่อง)
7. ในช่วงก่อนชมรายการ ครู กศน.ตำบลทุกคน จะมีเวลา 15 นาที ในการนำเข้าสู่บทเรียน ซึ่งในช่วงนี้ถือเป็นช่วงสำคัญ เพราะถ้าครูมีเทคนิควิธีการนำเข้าสู่บทเรียนได้น่าสนใจก็จะเป็นเครื่องดึงดูดความสนใจของผู้เรียนให้กระตือรือร้นที่จะอยากเรียนรู้เนื้อหาต่อไป และช่วงนี้หากครูสร้างบรรยากาศให้มีความเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียน ด้วยการทักทายอย่างเป็นกันเอง และเชื่อมโยงเนื้อหาของกิจกรรมก่อนชมรายการกับช่วงของรายการโทรทัศน์ได้อย่างกลมกลืน ก็จะทำให้กระบวนการจัดการเรียนรู้ราบรื่นไปได้ด้วยดีและในช่วงนี้ครูต้องแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของเนื้อหาตอนที่จะเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อน เพื่อให้นักศึกษาสนใจศึกษาตามประเด็นอันจะส่งผลต่อสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักศึกษาซึ่งจะต้องได้รับการทดสอบหลังเรียน
8. ในการรับชมรายการโทรทัศน์ ครูต้องเปิดรายการโทรทัศน์ให้นักศึกษาได้รับชมก่อนเวลาที่กำหนดมิฉะนั้นจะทำให้พลาดช่วงแรกของรายการ ดังนั้นก่อนเริ่มรายการสัก 2 – 3 นาที ครูควรเริ่มเปิดโทรทัศน์ไว้ล่วงหน้าพร้อมกับแจ้งให้นักศึกษาเตรียมกระดาษหรือปากกาเพื่อจดบันทึกเนื้อหาสำคัญหรือเนื้อหาที่ยังไม่เข้าใจเพื่อสอบถามครูภายหลัง
9. ช่วงระหว่างรับชมรายการ ซึ่งใช้เวลา 30 นาที ครูควรดูรายการไปพร้อม ๆ กับนักศึกษา แม้ครูจะได้ศึกษาเนื้อหาในตอนนั้นมาล่วงหน้า แต่ในรายการโทรทัศน์ซึ่งเป็นรายการสด อาจมีเนื้อหาหรือประเด็นที่ยังหลงเหลือและเป็นปัญหาที่ครูและผู้เรียนต้องทำความเข้าใจร่วมกัน ครูก็ควรจดบันทึกไว้ และขณะเดียวกันก็สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาดังที่กล่าวไว้ในข้อ 6 ไปพร้อม ๆ กัน
10. ช่วงหลังชมรายการใช้เวลา 15 นาที ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ครูแจกแบบทดสอบซึ่งจะมีประมาณ 5 – 10 ข้อ ให้นักศึกษาทำไปพร้อม ๆ กับรายการจากนั้นครูจะเก็บกระดาษคำตอบไปตรวจให้คะแนน ระหว่างนี้ครูควรแจกแบบประเมินคุณภาพการรับชมรายการโทรทัศน์ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น และเก็บส่งคืนให้กศน. อำเภอ หรือสำนักงาน กศน. จังหวัดเพื่อรวบรวมส่งศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อเป็นข้อมูล ในการปรับปรุงคุณภาพรายการต่อไป
11. ในการตรวจคะแนนของนักศึกษา ครูควรตรวจให้คะแนนนักศึกษาจนครบ และแจ้งผลคะแนนให้นักศึกษาได้ทราบเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาตนเองของนักศึกษา และถ้าครูสามารถวิเคราะห์ข้อสอบได้ครูจะรู้ว่าข้อสอบข้อใดนักศึกษาทำผิดมากที่สุด ซึ่งคงต้องดูว่ามีสาเหตุมาจากตัวข้อสอบหรือตัวนักศึกษาเพื่อครูจะได้หาวิธีแก้ไขปัญหาตามสาเหตุที่พบ และในช่วงนี้หากครูทำแผนการเรียนรู้ต่อเนื่องจากรายการที่รับชม ครูควรจะได้ประเมินความรู้ของนักศึกษา โดยวิธีการต่าง ๆ เบื้องแรกคือการสอบถามนักศึกษาถึงความรู้ความเข้าใจที่มีต่อเนื้อหาและข้อสงสัยต่าง ๆ และสรุปองค์ความรู้ร่วมกัน รวมทั้งเติมเต็มเนื้อหาที่ผู้เรียนสงสัย (หากครูได้เตรียมตัวมาล่วงหน้าแล้ว) รวมทั้งอาจทำกิจกรรมเพิ่มเติมตามใบงาน ใบความรู้ที่ครู (อาจ) เตรียมไว้ เพื่อสร้างทักษะทางภาษาแก่นักศึกษา ซึ่งต้องทำซ้ำ ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น
12. กรณีที่ผู้เรียนประสบปัญหาการเรียนรู้อย่างมาก ครูควรแนะนำให้นักศึกษาชมรายการนี้ซ้ำ ผ่านเว็บไซต์ www.Etvthai.tv และดาวน์โหลดเก็บไว้เพื่อชมซ้ำ ๆ ได้บ่อยๆ

13. เนื้อหาที่นำมาจัดทำรายการโทรทัศน์ทั้ง 18 ครั้ง ได้นำมารวบรวมไว้ในคู่มือฉบับนี้ ดังนั้นจึงเป็นการง่ายที่ครูจะศึกษา และค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อเตรียมการจัดกระบวนการ เรียนรู้ต่อเนื่องให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อนักศึกษา


แบบประเมิน
รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

1. คุณภาพของรายการ
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย R ตามความคิดเห็นของท่าน


รายการประเมิน
รายการประเมิน
ระดับความเหมาะสม / และความน่าสนใจ
มากที่สุด
(5 คะแนน)
มาก
(4 คะแนน)
ปานกลาง
(3 คะแนน)
น้อย
(2 คะแนน)
น้อยที่สุด
(1 คะแนน)
1. รูปแบบรายการมีความน่าสนใจและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย





2. ความสอดคล้องกับหลักสูตร





3. ความทันสมัยของการนำเสนอ





4. พิธีกร





5. วิทยากร





6. ผู้ร่วมรายการ





7. ตัวอักษรและเทคนิควิธีนำเสนอ





8. ความคมชัดและขนาดตัวอักษร





9. ความชัดเจนในการนำเสนอรายการ





10. ความยาวของรายการ






2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
- ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบเท่ากับ.....................................................
- ความเข้าใจในเนื้อหารายการหลังการรับชม          เข้าใจ          ไม่เข้าใจ
3. ความคิดเห็น
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………